ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วยให้การทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น แต่พัฒนาการดังกล่าวย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมากมาย ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังต่อไปนี้
1.3.1 ผลกระทบด้านบวก
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารต่อสังคมด้านบวก เช่น
1) การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตราย มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้ติดต่อถึงกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็วสามารถติดต่อสื่อสารได้โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะเดินทาง

เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพความเป็นอยู่
2) การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยให้การกระจายข่าวสารไปได้ทั่วทุกแห่ง แม้แต่ในถิ่นทุรกันดาร มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลทำให้เป็นการกระจายโอกาสการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสารทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน

การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
3) การเรียนการสอนและส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย
ในสถานศึกษามีการนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มาสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนการสอน เช่น วีดิทัศน์ อีเลิร์นนิ่ง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา เช่น จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน
ในอินเทอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลให้เข้าถึงได้อย่างเสรี เช่น เว็บไซต์ http://th.wikipedia.org , http://www.vcharkarn.com และ http://www.gotoknow.org

เว็บไซต์ http://th.wikipedia.org

เว็บไซต์ http://www.vcharkarn.com

เว็บไซต์ http://www.gotoknow.org
ในด้านการค้นคว้าวิจัยนักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ใช้ค้นหารายงานการวิจัยที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ใช้ในการจำลองโครงสร้างอะตอม

 การจำลองโครงสร้างอะตอม
4) การรักษาสิ่งแวดล้อม
ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น การอนุรักษ์ป่าไม้ มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมการติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร (telemeter) ดัวอย่างระบบโทรมาตรจากศูนย์สารสนเทศ กรมชลประทาน

ตัวอย่างระบบโทรมาตร
5) การรักษาความปลอดภัย
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อมีการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การตรวจสอบสัมภาระในการเดินทาง การตรวจสอบอาวุธและวัตถุระเบิด

การตรวจสอบอาวุธหรือวัตถุระเบิด
6) การผลิตในอุตสาหกรรมและการพานิชยกรรม
การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิต เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากและมีต้นทุนต่ำ และยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าและใช้บริการได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเราสามารถใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อสินค้าการทำธูรกรรมทางการเงิน การดูข้อมูลที่มีผลกับธุรกิจ

เว็บไซต์ www.chulabook.com/ ให้บริการซื้อขายหนังสือออนไลน์
7) การสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาความคิด
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นต่อชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผลนี้เยาวชนจึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ ในการนี้มีหลายสถาบัน เช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้มีการจัดแข่งขันการพัฒนาโครงงานหรือซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น

การแข่งขันพัฒนาโครงงานของ สสวท.
8) การส่งเสริมประชาธิปไตย
ในการเลือกตั้งระดับต่างๆ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อกระจายข่าวสาร และให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผลคะแนน ให้สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ตรายงานผลการนับคะแนน ที่ทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว ตัอย่างเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

เว็บไซต์ www.ect.go.th/
1.3.2 ผลกระทบด้านลบ
ผลกระทบด้านลบของเทคโนโลสีสารสนเทศและการสื่อสารต่อสังคมด้านลบ เช่น
1) ทำให้เกิดอาชญากรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหนทางในการก่ออาชญากรรมได้ อาชญากรรมอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการวางแผนปล้น วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร หรือเข้าแก้ไขข้อมูล เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักศึกษา แก้ไขจำนวนเงินในบัตรเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่ การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตรกรรม ดังที่เห็นในภาพยนตร์ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อล่อลวงผู้อื่นไปในทางที่ไม่ดี

 ตัวอย่างการโครกรรมข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
2) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเสื่อมถอย
การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องพบหน้ากัน การใช้คอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกม มีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษย์สัมพันธ์ของบุคคละน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันและกันมาก อย่างไรก็ตามได้มีงานวิจัยคัดค้านและแสดงความคิดเห็นที่ว่าเทคโนโลยีได้ช่วยให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารถึงกันมากขึ้นและมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล
ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคล บางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่า คอมพิวเตอร์อาจทำให้เกิดการจ้างงานน้อยลง มีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในงานมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานอาจตกงาน หรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้ โดยความจริงแล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลนัันมีการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น

การนำหุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์
4) ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยในการดำเนินงาน
การดำเนินงานในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้นข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือถูกทำลายจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ก็จะทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลนำข้อมูลนั้นมาใช้ได้ นอกจากนี้อาจมีผู้ประสงค์ร้ายเข้าไปขโมยข้อมูลมาใช้ในทางที่ไม่ดีได้ง่ายขึ้น
ไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในความจำของระบบคอมพิวเตอร์ และเมื่อมีโอกาสสามารถแพร่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ โดยไวรัสจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์หรือโปรแกรมที่มีไวรัสแฝงอยู่
5) ทำให้เกิดการพัฒนาอาวุธไปใช้ในทางที่ผิด
ประเทศที่มีการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาช่วยในการพัฒนาอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสงครามและมีการสูญเสียมากขึ้น

เทคโนโลยีที่นำมาใช้ทางทหาร
6) ทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสม
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่ง การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญดังเช่น ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตอาจมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาหรือภาพไม่เหมาะสม เช่น ภาพลามกอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย การดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนินการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีรับแจ้งเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมผ่านเว็บไซต์
นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงอีเมล์เพื่อส่งอีเมล์ถึงผู้อื่น โดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ จริยธรรมการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องใส่ใจและคำนึงถึงการใช้งานที่มีผลกระทบถึงผู้อื่น

เว็บไซต์ของกระทรวงไอซีที
7) ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
การใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้มีปัญหาต่อสุขภาพ เช่น การเพ่งที่จอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจทำให้ปวดตา การนั่งในท่าเดิมนานๆ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดคอ การเกร็งข้อมือขณะพิมพ์งานหรือใช้เมาส์จะทำให้เกิดการปวดข้อมือและนิ้วได้

 การปวดกล้ามเนื้อจากการนั่งทำงานนานๆ
การใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี
  • จอภาพตั้งให้อยู่ตรงกลางและปรับให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย ปรับแสงของจอให้พอเหมาะเมื่อมองแล้วรู้สึกสบายตา
  • การนั่งให้นั่งห่างจากจอประมาณ 1 ช่วงแขนเก้าอี้ขนาดพอดีตัว ให้นั่งตัวตรงและหลังพิงกับพนักเก้าอี้ ส่วนเท้าวางขนานกับพื้น
  • คีย์บอร์ดอยู่ในระดับที่แขนวางแล้วเป็นมุมตั้งฉาก ไม่สูงหรือต่ำเกินไป จนทำให้ไหล่ห่อ
  • พักสายตาโดยการมองออกไปไกลๆชั่วโมงละ 2 ครั้ง และเปลี่ยนอิริยาบททุก 30-60 นาที
8) ทำให้ติดคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
การติดคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต มีหลายลักษณะ เช่น ติดการเล่นเกมส์ ติดการค้นหาเว็บ ติดการแชท และติดการพนันหรือประมูลสินค้า ผู้ที่มีอาการติดสิ่งเหล่านี้ จะต้องการเวลาในการทำกิจกรรมนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถเลิกได้ ซึ่งทำให้มีปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น ซึมเศร้า ไม่อยากนอน เชื่องช้า ก้าวร้าว ขาดวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ เพราะฉะนั้น ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการดูแลเอาใจใส่ ควรฝึกให้บุตรหลานตระหนักถึงสิ่งที่ให้ประโยชน์หรือโทษ และควรปลูกฝังจิตสำนึกและความรับผิดชอบที่มีต่อครอบครัวและสังคม
ทำอย่างไรไม่ให้เด็กติดคอมพิวเตอร์
ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการดูแลบุตรหลานไม่ให้ติดคอมพิวเตอร์ได้ ดังเช่นแนวทางต่อไปนี้
  1. กำหนดแนวทางในการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นเวลา
  2. ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องที่ทุกคนในบ้านมีส่วนร่วมได้ เพื่อให้รู้ว่าเด็กกำลังใช้คอมพิเตอร์ทำอะไร
  3. รับฟังและให้คำแนะนำเมื่อเด็กมีปัญหาใดๆ
  4. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมอื่น เช่น กีฬา ศิลปะ ดนตรี นั่งสมาธิ และช่วยเหลือชุมชน

การใช้เวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกับสังคม ช่วยลดปัญหาการติดคอมพิวเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น